WUICAS II Sixth Announcement

WUICAS II  Call for Papers

WALAILAK UNIVERSITY INTERNATIONAL CONFERENCE ON ASIAN STUDIES (II)
The inter/cross-disciplinary international conference

  “Asian Studies Today: The Revival of Asia”  
 “เอเชียศึกษาวันนี้: การผงาดขึ้นของเอเชีย”

18-19 February 2013
at  Walailak University
222 Thaiburi, Thasala, Nakhon Si Thammarat 80160, Southern Thailand

Dear Colleagues,
Those who are interesed in Asian Studies/Southeast Asian Studies/Thai Studies
we are calling for paper and poster presentations.
You are welcome to be either presenters or participants.

Registration Fee:
International scholar/participant                                                   2400 Baht  (US $80)
*Early Bird International presenter                                               1200 Baht  (US $40)

Thai scholar/researcher/lecturer/teacher with official affiliation   1000 Baht
Governmental Officer/NGO                                                          1000 Baht
Thai graduate student with student ID                                           800 Baht
Professional Nurse with ID/group-registered                                 800 Baht
Undergraduate students with student ID/group-registered           waived
* Early Birds with contact in-advance                                           no charge

Accommodation:
Lodging is provided on first come/first serve. Advanced booking is required and on request.
Reccommended period of residing:  4 days/3 nights (Feb.17-20, 2013)                                check-in  Feb 17 afternoon/check-out Feb.20 beforenoon

WUICAS II rate:        Reuan Walai (on campus)            600×3 = 1800 Baht
Khum Sawat (next  to WU)              500×3 = 1500 Baht
Twin Lotus (downtown-Nakhon)    1200×3 = 3600 Baht
* Late bookings may  be lodged to some other hotel/local inn for about 600-1000 Baht

 Contact:
1. Prof.Dr.Cholthira Satyawadhna, WUICAS II  Project Director
Dean, School of Liberal Arts, Walailak University; Chair, Ph.D.Program in Asian Studies
E-Mail:  cholthira@gmail.com
2. Dr.Wannasarn Noonsuk, WUICAS II  Project Secretariat
Secretary, Ph.D.Program in Asian Studies, School of Liberal Arts, Walailak University
E-mail:  wn35@cornell.edu

Abstract (with 5-10 Keywords)

  • International scholars may submit your Abstract in English
  • Thai scholars have to submit your Abstract both in English and Thai, including Malay or Chinese, or any other Asian languages.
    Those who can only send it in English, please be speedy, and ask for our Help Desk.

* Early Bird’s Abstract submission – January 15, 2013.
Dead-line of all Abstract submission (Oral/Poster) – January 30, 2013

Full paper (with Font-Times Roman 12/8-12 pages A4) in English or Thai, including some other Asian languages, if  any, is welcomed between  Jan.15-Feb.15, 2013.

Keynotes for the morning session on February 18, 2013
“Asian Studies Today: The Revival of Asia”
Dr.Chris Baker & Prof.Dr.Pasuk Pongpaichit

Keynote for the morning session on February 19, 2013
“เอเชียบูรพาภิวัตน์” (The Asian-ization)
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (Prof.Dr.Anek Laothammathat)

Apart from Walailak University’s budget for Reseach and International Profile,
the program administration of WUICAS II is partly supported by
*The Association of Recipients of Anandamahidol Scholarship Foundation
The distinguished ASF Recipients who genorously accept our invitation to be
WUICAS II Plenary Speakers are as followed:

1. ดร. มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์
“ความแพร่หลายของมหากาพย์รามายณะในเอเชีย”

2. ดร. วีรไท สันติประภพ
“ ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของเอเชีย”

3. ดร. จาตุรี ติงศภัทิย์

“การอ่านวรรณกรรมภาษาอังกฤษในเอเชีย”

4. ดร. ดรรชนี เอมพันธุ์

“การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเอเชีย”

5. ดร. ชาญวิทย์ ทัดแก้ว
“พุทธศาสนาลังกาวงศ์กับการเผยแผ่ในดินแดนเอเชียอาคเนย์”

6. ดร. พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์

“การกำหนดสมัยของการแพร่ของภาษาตระกูลไทเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

7. ดร. อรุณวรรณ หลำอุบล

“นวัตกรรมทางทันตกรรมจากวิสัยทัศน์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อสุขภาพที่ดีกว่าสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย”   (ส่วนที่หนึ่ง)

8. ดร.ดุลยพร ตราชูธรรม
“นวัตกรรมทางทันตกรรมจากวิสัยทัศน์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อสุขภาพที่ดีกว่าสำหรับ
ผู้สูงอายุในประเทศไทย” (ส่วนที่สอง)

WUICAS II PROCEEDINGS is supported by
*Research and Development Institute, Walailak Universit

Panels for Oral Presentation
(To be presented either in English, Thai, Chinese, Malay, or any other Asian languages as prescribed)
Following are the Panel descriptions, 12 Panel Sessions altogether in number.
Please read the concept and requirements of each panel thoroughly, and set your paper in the most appropriate panel, when you submit your abstract,
with your name, status, official position, and affiliation.

Panel 1.  The Dialogues of Asian Languages, Literatures, Religions, and Communities
ภาษา วรรณกรรม ศาสนา และชุมชนสัมพันธ์ในเอเชีย

* Panel organized by the Integrated Thai Studies Program, School of Liberal Arts, WU.

The panel aims to review the state of knowledge of Thai Studies with emphasis on the   inter-relationships between Asian languages and cultures, especially in terms of the dialogues of languages, literatures, religions, and communities.  The exchange of information and knowledge in this panel will enhance the understanding of cultural diversities of  Asia and create a new paradigm of social relations that emphasizes the cultural plurality and mutual development both in the region and the globe.  The dialogues  also aim to move ‘ Asian Studies’ to go beyond ‘Geo-Asia’, which is limited by physical space, to the  ‘Asia-ness’, with no boundaries.  It is to prepare new generations of Asianists for a new paradigm to envision Asia in terms of ‘Cosmo-Asia’.

ศึกษาสถานภาพองค์ความรู้ด้านไทยศึกษา โดยมุ่งหาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรมในเอเชีย  โดยเน้นการสังสันทน์ระหว่างวรรณกรรม ศาสนา และชุมชนเอเชีย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ และสานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมเอเชียในมิติใหม่ เชื่อมโยงความแตกต่างหลากหลายของนานาชาติในบริบทสังคมเอเชียใหม่ ในยุคข้อมูลข่าวสารหรือในระบอบการปกครองที่แตกต่าง ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้บนหนทางแห่ง “การพัฒนา” เพื่อประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน   แนวทางการสัมมนากลุ่มนี้ เพื่อรื้อสร้างความเชื่อและความเข้าใจเดิมต่อ “ภูมิภาคเอเชีย” (Geo-Asia) ซึ่งจำกัดขอบเขตในเชิงพื้นที่กายภาพ ไปสู่ “ความเป็นเอเชีย” (Asia-ness) ที่ไม่ยึดติดกับพื้นที่  เป็นการเตรียมความพร้อมและปรับกระบวนทัศน์นักเอเชียศึกษารุ่นใหม่ ให้รู้เท่าทัน “ความเป็นเอเชีย” ในมิติของการเป็น “โลกเอเชีย” ที่ปราศจากพรมแดน

2. Language, Culture, and English Communication in Asia (only in English)

ภาษา วัฒนธรรม และการสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษในเอเชีย

* Panel organized by the English Program, School of Liberal Arts, WU.

Over the past decades, in an international sphere, we cannot deny the role of English language and its status as a global language. English has spread so pervasively that it is fostered into the rest of the complex world as an international prestigious language. Likewise, in Asia, English has played a crucial role in the areas of science and technology, politics, commerce, education, and mass media. Presently, the status of English, the language ‘on which the sun never sets’ has been still maintained, strengthened, and promoted through a system of both private and institutional structures. English has been positioned as a natural and beneficial language. The growth of English has major cultural, educational and political implications. To deal with these aspects of English, language users need to study English and how it works in different kinds of cultural forms and also across cultures.  Also, to better understand about the global rise of English and its role, English played out in any context in this postcolonial era, we need to look at English through its local milieus rather than through a priori assumptions about imperialistic effects. In this way, in order to come at a clearer understanding about English usage and local languages in Asia and especially in Thailand, English should be viewed from local or regional contexts, since it can never be removed from the historical, social, cultural, economic or political contexts in which it is used.

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ในปริมณฑลนานาชาติ เราคงปฏิเสธบทบาทและสถานะของภาษาอังกฤษในฐานะภาษาแห่งประชาคมโลกไม่ได้  ภาษาอังกฤษได้หยั่งรากและขยายพันธุอย่าง รวดเร็วจนกลายเป็นภาษาแห่งโลกที่ทรงอิทธิพล ในเอเชียก็เช่นเดียวกัน ภาษาอังกฤษได้มีบทบาทในด้านต่างๆ อาทิ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเมือง การค้า การศึกษา และสื่อสารมวลชน  ปัจจุบันนี้สถานะภาษาอังกฤษ อันเป็นภาษาที่ตะวันไม่ตกดิน ยังคงได้รับการต่อยอด ส่งเสริมและสนับสนุนในรูปของสถาบันและเอกชน  ภาษาอังกฤษได้รับการสถาปนาให้อยู่ในฐานะที่เป็นกลางและมีประโยชน์  การเติบโตของภาษาอังกฤษส่งผลอย่างมากทางด้านวัฒนธรรม การศึกษาและการเมือง  เพื่อที่จะรู้เท่าทันและเข้าใจผลของภาษาอังกฤษในด้านต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้ใช้ภาษาพึงจะต้องเรียนและใช้ภาษาอังกฤษโดยตระหนักถึงบทบาทของภาษาในบริบท พหุภาษาและวัฒนธรรมต่างๆ   นอกจากนี้การที่จะทำความเข้าใจบทบาทของภาษาอังกฤษที่เพิ่มมากขึ้นในบริบท ต่าง ๆ ในห้วงเวลาหลังอาณานิคมนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องพิจารณาภาษาอังกฤษจากมุมมองของท้องถิ่นมากกว่า ข้อสมมติฐานที่มีเกี่ยวกับผลของอาณานิคม  ดังนั้นการที่จะเข้าใจภาษาอังกฤษในเอเชียและโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยให้ ดียิ่งขึ้น ภาษาอังกฤษจึงควรถูกฉายภาพจากบริบทท้องถิ่นหรือภูมิภาค ทั้งนี้เพราะว่าภาษาอังกฤษไม่สามารถแยกออกจากบริบทประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองที่ภาษาอังกฤษรับใช้ชุมชนนั้น ๆ อยู่

3. Overseas Chinese Language and Culture in the Context of Globalization 
    (in Chinese and English)

   ภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนในต่างประเทศภายใต้บริบทโลกาภิวัฒน์

   全球化背景下的汉语教学和中国文化推广

*Panel organized by the Chinese Program, School of Liberal Arts, WU.

In the 21st century, all roads lead to China. The world is closely watching the rise of this giant, which has increasing GDP and politico-economic power year by  year.  Therefore, the body of knowledge about China, including its history, language, literature, philosophy, politics, and culture, is required in any countries.  In Thailand, the knowledge about China has been acquired through Western texts, not through the Chinese documents and literatures.  Since the Chinese program of the School of Liberal Arts at Walailak University believes that Chinese studies today needs to focus on the Chinese language and documentary resources and that Asian studies, which is an inter-disciplinary field, has to have a better understanding of China, it organizes this panel on Chinese studies to allow scholars and students to exchange their knowledge using a central Chinese language. However this is not limited to scholars who would like to use Thai or English to tackle with the same issue.

ศตวรรษที่ 21  ถนนทุกสายมุ่งสู่จีน  ทั่วโลกกำลังจับตามองยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียที่กำลังผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ เศรษฐกิจของโลกด้วยมูลค่าผลผลิตมวลรวมประชาชาติที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและ ผลสัมฤทธิ์เชิงเศรษฐกิจอีกมากมาย   ทำให้องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่ว่าจะเป็น ประวัติศาสตร์ ภาษา ปรัชญา การเมือง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ วรรณกรรมล้วนควรค่าแก่การศึกษา  ซึ่งมุมมองของการศึกษาวิจัยส่วนใหญ่ในวงวิชาการของไทยเป็นมุมมองที่ผ่านการ สังเคราะห์จากเอกสารของตะวันตก  การศึกษาวิจัยองค์ความรู้เกี่ยวกับจีนที่ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์จาก เอกสารภาษาจีนโดยตรงหรือมุมมองของผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญภาษาจีนยังมี น้อย  หลักสูตรภาษาจีน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงเห็นว่า เอเชียศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งมีทิศทางไปสู่การใช้ศาสตร์ของสหวิทยาการโดยการบูรณาการระหว่างศาสตร์ ต่าง ๆ  ในการศึกษาวิจัย จะขาดการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจีนไม่ได้ จึงได้เปิดเวทีสัมมนาในประเด็นเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับจีนศึกษา โดยเปิดโอกาสให้นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งไทยและจีนที่มีความรู้ความสามารถภาษาจีนได้ ร่วมนำเสนองานวิจัยด้วยภาษาจีน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลระหว่างกัน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายทางวิชาการเพื่อความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องใน อนาคต  แต่ทั้งนี้ก็มิได้จำกัดวงแต่เฉพาะผู้ประสงค์จะใช้เฉพาะภาษาจีนเพื่อการสื่อ สารเท่านั้น

4. Human’s Rights and Women’s Rights: the New Issues of Inequality in Asia

    สิทธิมนุษยชนและสิทธิสตรี : ประเด็นใหม่ของกลุ่มคนที่ไม่ได้รับความเท่าเทียมในเอเชีย

* Panel organized by the Ph.D.Program in Asian Studies, School of Liberal Arts, WU.

Is it possible to raise human rights and its defense mechanism according to the Universal Declaration of Human Rights in Asia?  In Asian countries, among the diversity of political culture which is lacked of precise cooperation by reasons of either political and economical stability,   human rights violations which occurred in the regions are mostly neglected , and have not been solved sufficiently.

What is then the mutual concept of human rights?  The concept which is under the conditions of the difference and diversity concerning religion, belief, politics, economics, and weak and limited institutional system, for instance, the collaboration due to ASEAN Declaration is still under discussion about its possibility and success.  It has come somewhat to a conclusion that  human  rights and women issues are too difficult to settle and it is too complicated to seek any collective “value” of any ‘rights’ in the region.

Human rights situation in Asia is perceived to be problematic because of the cultural background and Asian value are so distinctive.  With the awareness of differential politics and economics, it is hard to tackle with the universal principles of UN human rights, for example, human trafficking is caused by religious and racial bias, gender inequality broadened to overseas commerce – Asian women have become commodities around the globe, violence of struggle  is for autonomy, community and indigenous rights, including opportunity and equality in attainment of natural resources and equal education, and also  violent protest is the way to preserve identity, dignity, integrity, and culture of minorities as well.  These problems mainly affect women who have their duties to coordinate and recovery.  Women’s mission in Asia  has been extremely challenging, yet seems to be mission impossible.

การสร้างสิทธิมนุษยชนในเอเชียและกลไกการปกป้องสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญา สิทธิมนุษยชนสากลจะเป็นจริงได้หรือไม่  ท่ามกลางความความหลากหลายของวัฒนธรรมทางการเมืองของนานาประเทศในเอเชีย และการที่แต่ละประเทศยังไม่มุ่งไปสู่การสร้างผลประโยชน์ร่วมกันของประชาคม อย่างชัดเจน ด้วยการอ้างเหตุผลเรื่องความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศตัวเอง หรือเมื่อมีการทักท้วงโต้แย้งจากนานาชาติก็ “วิถีแบบเอเชีย” เป็นคำอธิบาย ที่ทำให้ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในเอเชียถูกละเลยและไม่ได้รับการ แก้ไขอย่างเพียงพอ

อะไรที่จะเป็นแนวคิดสิทธิมนุษยชนที่คนในภูมิภาคนี้สามารถยึดถือร่วมกัน ภายใต้เงื่อนไขของความแตกต่างและหลากหลายไม่ว่าจะเป็นทางศาสนา ความเชื่อ การเมือง สังคม เศรษฐกิจ  ระบบสถาบันที่จะสร้างกลไกนี้ให้เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ก็ยังคงอ่อนแอและมีข้อ จำกัด  ตัวอย่างความร่วมมือที่เกิดขึ้นในระดับอาเซียน จากการประกาศปฏิญญาอาเซียนที่ยังเป็นประเด็นการถกเถียงถึงความเป็นไปได้และ ความสำเร็จ  ยิ่งทำให้เห็นว่าการสร้าง “ค่านิยม”  ร่วมกันในประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อน และเรื่องว่าด้วย “สิทธิ” ไม่ใช่เรื่องง่ายในภูมิภาคแถบนี้

สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเอเชียในปัจจุบันมีปัญหาที่มีรากฐานจากมิติทาง วัฒนธรรมอย่างชัดเจน  ทำให้เกิดค่านิยมและการจัดการปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ไม่สอดคล้องกับ หลักการสิทธิมนุษยชนสากล ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการค้ามนุษย์ที่เป็นผลมาจากอคติทางศาสนา ชาติพันธุ์  และความไม่เท่าเทียมทางเพศ ที่มีการขยายเส้นทางสู่การค้าข้ามประเทศ   ปัญหาความเกลียดชังและความแตกแยกในสังคม  ความรุนแรงจากการต่อสู้เพื่อการปกครองตนเอง โอกาสและความเท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิในด้านการศึกษา  การรักษาอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยต่างๆ  ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาเหล่านี้ ผู้หญิงเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบหลักและเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการประสานเยียว ยา    ภารกิจของผู้หญิงเอเชียเป็นประเด็นที่ท้าทายในภูมิภาคเอเชียยุคปัจจุบัน และดูเสมือนเป็นภารกิจที่ไม่อาจบรรลุได้

5. Reconsidering Asia’s Past and Reconstructing Asian Cultural Landscapes

ทบทวนอดีตและสืบสานภูมิวัฒนธรรมของเอเชีย

* Panel organized by the Ph.D.Program in Asian Studies (Asian Art History and Archaeology), School of Liberal Arts, WU.

Asia has had deep cultural roots.  Cultures and civilizations in this continent  have interacted with one another and had far-reaching influences to various cultures around the ancient world.  Therefore, the studies of Asia’s past have to extend far beyond the borders of Asia or any particular regions.  It is the trend toward the studies of ancient globalization based on the fine-grained research of each local site.  The cultural wealth of the past has shaped the cultural landscapes in this continent since culture and landscape are intimately related and helped to shape one another.

This session aims to provide an opportunity for scholars, graduate students, and people who are interested in the studies of the past and cultural landscapes to exchange their discoveries, ideas, and methodologies to one another toward applications of inter-disciplinary approaches.  The fields of study in this session include, but are not limited to, archeology, history, history of art, geography, and anthropology.

ทวีปเอเชียอุดมเฟื่องฟูไปด้วยวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆ มากมายมาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล  วัฒนธรรมเหล่านี้ได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและยังส่งผลกระทบไปสู่วัฒนธรรมอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไปจากทวีปแห่งนี้  ดังนั้นการศึกษาวัฒนธรรมโบราณของเอเชียจึงมีแนวโน้มที่จะต้องมุ่งเน้นในสอง ด้านเป็นอย่างน้อย คือ ประการที่หนึ่ง ต้องมุ่งศึกษาวิจัยเชิงลึกในแต่ละพื้นที่ในแต่ละวัฒนธรรม และประการที่สอง ต้องขยายขอบเขตการศึกษาให้กว้างไกลกว่าทวีปเอเชียเพื่อศึกษาการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างวัฒนธรรมเหล่านั้นกับดินแดนอื่นๆ  เส้นทางการค้าการแลกเปลี่ยนต่างๆ อาทิเช่น เส้นทางสายไหมทางบกและเส้นทางสายเครื่องเทศทางทะเล ได้เชื่อมโยงเอเชียเข้าไว้กับโลกโบราณและนำไปสู่การเป็นโลกาภิวัตน์ของยุค โบราณ  การเปิดออกสู่โลกภายนอกของสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ในเอเชียได้ทำให้ภูมิวัฒนธรรมของสังคมเหล่านั้นพัฒนาขึ้นอย่างสลับซับซ้อน  ซึ่งการหาความหมายของภูมิวัฒนธรรมเหล่านั้นต้องอาศัยการศึกษาอดีตอย่างแนบ แน่น

การสัมมนากลุ่มย่อยนี้มีเป้าประสงค์ที่จะเปิดเวทีให้นักวิชาการ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และผู้คนที่สนใจอดีต ได้เข้ามาเสนอผลงานของตนและแลกเปลี่ยนความรู้และวิธีวิทยาในการค้นหาอดีตและ พัฒนาการของภูมิวัฒนธรรมในเชิงบูรณาการ  สาขาวิชาต่างๆ ในการสัมมนานี้ประกอบด้วย โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

6. Power and Politics in Asia

   การเมืองและอำนาจในเอเชีย

*Panel organized by the Political Sciences Program, School of Liberal Arts, WU.

In a global view, various Asian states have had increasing power in the world in the past few decades.  For instance, China has become the politico-economic and military giant in the world, and this fact has worried the West, especially the U.S., tremendously.  President Obama has declared recently that the U.S. will come back to the Far East and that the South China Sea virtually belongs to everyone, to prevent the growing power of China in this resourceful region.  To this end, the U.S. decided to set up a large military base in Australia and sent countless envoys to Southeast Asia to create strong political ties between the U.S. and Southeast Asian countries and to protect the interest of the U.S. in this region.  It has sometime been said that, if World War III is to happen, it would be happening in the South China Sea.  This prediction simply reaffirms the fact that Southeast Asia is now one of the most, if not the most, politically active regions in the world.

In a local view, power and politics in Asia are diversified and complex, in terms of their meanings, forms, and uses.  Power in Asia has fluidity that can change from one form to another according to societies and cultures.  State power is not absolute but is shared by social power.  The interactions between each kind of power, therefore, became an important topic for the studies of politics in Asia.

ในภาพมุมกว้าง รัฐต่างๆ ในเอเชียได้มีอำนาจมากขึ้นเป็นอย่างมากในหลายทศวรรษที่ผ่านมา  อาทิเช่น จีนได้แข็งแกร่งเป็นอย่างมากทางการเมือง ทางเศรษฐกิจและทางการทหาร  การผงาดขึ้นของจีนส่งผลให้มหาอำนาจอื่นๆ ของโลก เช่นสหรัฐอเมริกา และยุโรปต้องปรับตัวและริเริ่มนโยบายใหม่ๆ ในการต่อรองเชิงอำนาจกับจีน  ประธานาธิบดีโอบามาของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศอย่างชัดเจนเมื่อไม่กี่ปีที่ ผ่านมาว่าสหรัฐจะทุ่มเทสรรพกำลังมาสู่ทะเลจีนใต้อีกครั้งหลังจากการพ่ายแพ้ สงครามในเวียดนาม  ขณะนี้ฐานทัพสหรัฐได้ถูกก่อตั้งขึ้นในประเทศออสเตรเลีย และผู้บริหารระดับสูงของสหรัฐก็ได้แวะเวียนเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้อย่างไม่ขาดสายเพื่อแสวงหาพันธมิตรในการปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐใน ภูมิภาคแห่งนี้  จนถึงขั้นที่นักวิชาการบางท่านได้คาดคะเนว่า หากสงครามโลกครั้งที่สามจะเกิดขึ้น ก็คงจะเกิดที่ทะเลจีนใต้เป็นแน่แท้  จึงอาจกล่าวได้ว่าภูมิภาคนี้จึงมีพลวัตทางการเมืองระหว่างประเทศสูงที่สุดใน โลกในปัจจุบัน

ในภาพมุมลึกระดับท้องถิ่น  อำนาจและการเมืองในเอเชียนั้นมีความหลากหลายและซับซ้อน ทั้งในความหมาย รูปแบบและการใช้   ในสังคมการเมืองของเอเชียนั้นพบลักษณะพิเศษของ “อำนาจ”  ผกผันไปตามรูปแบบสังคมเช่นเดียวกับ “อำนาจรัฐ” ไม่ได้มีความเบ็ดเสร็จเด็ดขาด  แต่ยังมีความเป็น “อำนาจอื่นจากอำนาจรัฐ”  เป็นต้นว่า “อำนาจทางสังคม”  ที่นับว่ามีพลังไม่แตกต่างกัน  อำนาจทางสังคมจึงเป็นระบบคุณค่าที่สอดแทรกหรือแฝงตัวและมีบทบาทในสังคมการ เมือง เช่นนี้ ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันหรือเกิดการปะทะระหว่างกันในปริมณฑลแห่ง อำนาจของเอเชีย ทำให้ความหมาย รูปแบบ และการใช้อำนาจมีความเป็นพิเศษอยู่อย่างน่าสนใจ

 7. The Contemporary Malay Literature in ASEAN (in Bahasa and English)

     วรรณกรรมมลายูร่วมสมัยในอาเซียน

*Panel organized by the ASEAN Studies and the M.A.in Southeast Asian Studies Program,
School of Liberal Arts, WU.

As the lingua franca of maritime Southeast Asia, Malay is now spoken and used by more than 215 million people.  The Malay language and literature have also reflected the knowledge and wisdom of people in this region for a long time.  They have been at the center of intellectual discussion and influenced the historical developments of various communities.  Even today, the development of the contemporary Malay literature is still intriguing and colorful.  The principle issues to be investigated in this panel are how the Malay literature reflects the contemporary experiences of the people under different socio-political and cultural circumstances and toward what direction that the Malay literature is moving.

ในฐานะภาษากลาง (lingua franca) ของโลกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ภาษามลายูมีผู้ใช้มากกว่า 215 ล้านคน  ทั้งภาษามลายูและวรรณกรรมมลายูเป็นแหล่งเก็บความรู้ ภูมิปัญญา เป็นศูนย์กลางของการวิวาทะ และมีบทบาทในพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของหลายดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ วรรณกรรมมลายูยังคงมีพัฒนาการที่เปี่ยมไปด้วยสีสันจนถึงทุกวันนี้  คำถามสำคัญนั้นอยู่ที่ว่า ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงร่วมสมัยซึ่งแต่ละประเทศที่ใช้ภาษามลายูกำลังเผชิญ สถานการณ์ทางการเมือง สังคม วัฒนธรรมแตกต่างกันออกไปนี้ วงการวรรณกรรมมลายูกำลังเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด และได้ทำหน้าที่สะท้อนให้เห็นประสบการณ์ร่วมสมัยเหล่านั้นเช่นไรในปัจจุบัน

 8. The Tai/Thai/Siamese and Austroasiatic-Austronesian Connections
     (in any Tai/Dai/Thai/Siamese  dialects)

    ชาวไท/ไทย/สยาม กับ ความสัมพันธ์ที่เกาะเกี่ยวระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมมอญ-เขมร
     และกลุ่มวัฒนธรรมมลายู-โพลีเนเชียน

* International Panel networking and organized by SEACOM, Berlin/TAI CULTURE, International Review on Tai Social and Cultural History

For several decades, the questions of origin and migration routes have always been fascinating for sojourners who were ‘fore-runners’ in Tai/Thai Studies.  However in the past two decades, although some may still cast doubt, skeptical, and reluctant to jump to any conclusion, various in-depth documentary and field research have opened up a new horizon to the study of the Tai/Thai/Siamese in terms of their Austro-asiatic and Austronesian connections.  The conventional tradition of Thai Studies, in other terms, the ‘colonized Thai Studies’  has been unmasked, diversified, and deconstructed, further replaced by the new understanding and conceptualization of the ‘pluralities’ which amazingly occurred more than two thousand years ago in China, India, upper mainland Southeast Asia, the Thai-Yunnan Periphery in particular, and southwards to the Pacific Islands.

The traditional studies of the Thai ‘origin’, ‘prime-ordeal’, and Thai unique characteristics have been questioned and criticized, resulted in the reshaping of novel theorizing and approaches.  Identity formation, ethnography, and reconstruction of ethnohistory among various cultural groups of either austro-asiatic or austronesian, or both, in anthropological perspective have become the alternative trends of research for those who could penetrate into the secret and sacredness of the ‘ASIA-NESS’ and would like to draw the connections in-between cultural space among the Tai/Thai/Siamese.

หลายทศวรรษที่ผ่านมา คำถามว่าด้วยต้นกำเนิดและเส้นทางอพยพเป็นที่สนใจสำหรับนักแสวงหาความรู้ผู้ บุก เบิกวงการไท/ไทยศึกษา  อย่างไรก็ตาม ราวยี่สิบปีที่ผ่านมา แม้ว่าหลายคนยังคงข้องใจ สงสัย และไม่อยากด่วนสรุป  การวิจัยเอกสารและการวิจัยสนามจำนวนมากได้เบิกฟ้าใหม่ให้กับการศึกษาเรื่อง ชาวไท/ไทย/สยามในแง่ของความสัมพันธ์ที่เกาะเกี่ยวกับกลุ่มวัฒนธรรมมอญ-เขมร และกลุ่มวัฒนธรรมมลายู-โพลีเนเชียน  ไทยศึกษาแนวจารีต หรือนัยหนึ่งไทยศึกษาภายใต้ลัทธิล่าอาณานิคม ได้ถูกเผยโฉมหน้า และทำให้หลากหลายขึ้น กระทั่งถูกปรับ-รื้อ-ถอนเชิงโครงสร้างความคิด  แล้วแทนที่ด้วยความเข้าใจใหม่และมโนทัศน์ใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับ “ความหลากหลาย” ซึ่งได้เกิดขึ้นมาแล้วกว่าสองพันปีอย่างน่าพิศวงในจีน อินเดีย ภาคพื้นอุษาคเนย์ตอนบน โดยเฉพาะปริมณฑลไทย-ยูนนาน และใต้ลงมาถึงหมู่เกาะแปซิฟิก

ไทยศึกษาแนวจารีตนิยมที่เน้นการค้นหาแหล่งกำเนิด จุดแรกเริ่ม และเอกลักษณ์ไทย  ได้ถูกตั้งข้อกังขาและวิพากษ์วิจารณ์  นำมาซึ่งการก่อรูปฐานคิดทางทฤษฎีและวิธีวิทยาแบบใหม่ๆ   โดยเฉพาะการศึกษาวิจัยด้วยวิธีวิทยาทางมานุษยวิทยา เช่น การสร้างอัตลักษณ์ ชาติพันธุ์วรรณนา และการสืบสานประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ ของนานาชาติพันธุ์  ไม่ว่าจะสัมพันธ์เกาะเกี่ยวกับกลุ่มวัฒนธรรมมอญ-เขมร หรือ กลุ่มวัฒนธรรมมลายู-โพลีเนเชียน  หรือกับทั้งสองกลุ่ม  การศึกษาแนวนี้ได้กลายเป็นกระแสการวิจัยทางเลือก สำหรับผู้สามารถเข้าถึงความลึกลับและขุมความขลังของ “ความเป็นเอเชีย”  และประสงค์จะสาวความสัมพันธ์ “ในระหว่างพื้นที่วัฒนธรรม” ของชาวไท ชาวไทย และชาวสยาม

9. Sustainable Future for Asia

    ความยั่งยืนในอนาคตสำหรับภูมิภาคเอเชีย

* Panel organized by the Ph.D.Program in Asian Studies (Public Policy),
School of Liberal Arts, WU.

The skyrocketing increase of population and industrial production in Asia has inevitably caused the unstoppable exploitation of natural resources to the point that the ecological balance cannot be sustained.  The pollution of the industrial productions has also affected the earth, on a global scale, and threatened the survival of all of its habitants.  The economic collapses in Asia, the U.S. and recently Europe has proved that the mentality that sets the economic growth and accumulation of material wealth as the supreme goals for human society is problematic.  It has destroyed the old way of life and thinking that concerned with how human can live as a part of nature, not its conqueror.  In old Siam, for example, villagers believed that the true owner of all the natural resources, such as rivers, forests, lakes, and wild animals, were the supernatural power or spirits (phii).  In this way, people could not over-exploit such resources because the protective spirits would punish them.

Sufficiency is the key to the sustainability for human society on earth.  His Majesty King Bhumibol has pioneered  to propose the concept of ‘sufficiency economy’ to help remedy the over-exploitation of natural resources and the greed in today people’s mind.  To pursue the idea of sustainability, this panel aims to utilize the inter-disciplinary approaches, such as those of ethnography, ecology, environments, agriculture, and economics, to find the answers for the sustainable future for Asia.

จำนวนประชากรและการผลิตด้านอุตสาหกรรมที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในเอเชีย ได้นำไปสู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มากเกินความพอดีจนถึงจุดที่สมดุลทาง นิเวศวิทยาไม่สามารถจะคงอยู่ได้  และสิ่งเหล่านี้ยังนำไปสู่การสร้างมลภาวะและเป็นผลร้ายต่อการดำรงชีวิตอยู่ ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกใบนี้  การล่มสลายทางเศรษฐกิจในเอเชีย สหรัฐอเมริกา และยุโรป ทำให้เห็นได้ว่า การเอาความเติบโตทางเศรษฐกิจและการสะสมความร่ำรวยอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่ สุดสำหรับสังคมมนุษย์  แนวคิดที่เอาความมั่งคั่งนำหน้าได้ทำลายวิธีคิดและวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมที่ มุ่งหมายให้คนอยู่ในธรรมชาติได้อย่าปกติสุขอย่างผู้อาศัยมิใช่ผู้ครอบครอง  ในสังคมดั้งเดิมของสยาม คนเชื่อว่าผู้เป็นเจ้าของทรัพยากร ที่ประกอบด้วยแม่น้ำลำคลอง ป่าไม้ และ สัตว์ป่า คืออำนาจเหนือธรรมชาติหรือผีที่จะลงโทษผู้ใดก็ตามที่ใช้ประโยชน์ทรัพยากร นั้นอย่างเกินพอดี

ความพอดีคือกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนสำหรับมนุษย์บนโลกใบนี้  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มเสนอแนวคิดเรื่อง ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ เพื่อแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรเกินพอดีและความโลภของผู้คนของสังคมในปัจจุบัน  เพื่อนำแนวการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้ประโยชน์  การสัมมนาครั้งนี้จะใช้แนวทางสหวิทยาการ ที่รวมเอาศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น ชาติพันธุ์วรรณา นิเวศวิทยา เกษตรศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ มาเป็นเครื่องมือในการหาทางออกของปัญหาเพื่อนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนของ เอเชีย

10. Medical and Health Sciences in Asia (only in English)

     สุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ในเอเชีย

*Cross-disciplinary networking Panel,  organized by the Ph.D.Program in Biomedical

Sciences, School of Allied Health and Public Health, WU.

As the fastest growing region, in terms of industrial development and population, in the world today, Asia is experiencing problems in health and welfare of its people, especially those who do not have economic privileges.  A number of epidemics, spreading both to and from Asia, have also affected people’s lives in this region.  Encountering with these problems, this panel on Medical and Health Sciences in Asia will assemble a group of doctors, clinicians, allied-health professionals, academicians, researchers and graduate students to find the way to enhance the quality of life through various inter-disciplinary approaches including, but not limited to, health intervention, health systems and policy research, improvement of clinical practice, biomedical sciences research new approach, environment and occupational health, nutrition and food safety, and other related health and medical sciences.  Participants will have the opportunity to explore the possibilities of collaboration research, clinical education, as well as a chance to contribute back to the community.

*The Organizing Committee invites participants to submit abstracts of original, unpublished work for oral and/or poster presentations.  Abstracts must not be more than 300 words. Proceedings for research outcome must include 6 main headings including,abstract, introduction, methodology, result, discussion and conclusions, and references.  Submission abstract must include author(s) name(s), institution(s), and the presenting author’s name should be underlined and make a presentation at the conference.  Submitted abstracts will be reviewed by the Scientific Committee and its decision is final.

จากการที่เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางอุตสาหกรรมและประชากรสูงที่ สุดในโลกในปัจจุบัน ปัญหาทางด้านสุขภาพจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ของผู้คนในภูมิภาคนี้  โรคระบาดต่างๆ ที่แพร่กระจายจากเอเชียและที่แพร่กระจายมาสู่เอเชียก็ยังส่งผลกระทบต่อชีวิต ของผู้คนในภูมิภาคนี้เป็นอันมาก  การสัมมนาผลงานวิจัยสร้างสรรค์ด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพในการประชุม ทางวิชาการระดับนานาชาติ “เอเชียนศึกษาวันนี้” จึงมีเป้าหมายที่จะหาหนทางในการร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้าน สุขภาพ  ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วยแพทย์ สหวิชาชีพทางการแพทย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาโดยสามารถนำเสนอผลงานการศึกษาวิจัยในด้านต่างๆ ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพการวิจัยระบบและนโยบายสาธารณสุข การพัฒนาทักษะความเป็นเลิศทางคลินิกการวิจัยทางชีวเวชศาสตร์ อาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม โภชนาการและอาหารปลอดภัย และผลงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อนำไปสู่การดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน

ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถนำเสนอผลงานในรูปแบบภาคบรรยาย หรือ ภาคโปสเตอร์ โดยขอให้ผู้นำเสนอผลงานจัดเตรียมในรูปแบบบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 คำ หรือเตรียมผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ (Proceedings) ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อคณะผู้วิจัย (ให้ขีดเส้นใต้ชื่อผู้นำเสนอผลงาน) สถาบันของผู้วิจัย บทคัดย่อ บทนำ ผลการศึกษา สรุปและอภิปรายผล และเอกสารอ้างอิง
ผลงานวิชาการ หรืองานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ ที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอ จะต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
และมีการปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว

11. Sustainable Tourism and Hospitality Management in Asian Community

      ความยั่งยืนด้านการท่องเที่ยวและบริการในกลุ่มประเทศอาเซียน

*Interdisciplinary Networking Panel, organized by the Ph.D. Program in Business

Administration, School of Management, WU.

This panel explores the current circumstances and directions of tourism and hospitality industries in the ASEAN community from the management perspective.  The studies in this research area involve multi-disciplinary approaches, which are related to other fields, such as social, environmental, and politico-economic sciences. The papers to be presented in this panel should be associated with the concept of sustainability and how to manage visitors and stakeholders in tourism and hospitality business toward the direction of sustainable future.

ความยั่งยืนด้านการท่องเที่ยวและบริการในกลุ่มประเทศอาเซียน  ศึกษาการจัดการเรื่องของการท่องเที่ยว สันทนาการ และการบริการ เฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน   การศึกษาประกอบด้วยองค์ความรู้ ทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ หรือด้านใดด้านหนึ่งในสามองค์ประกอบ   บทความว่าด้วยความยั่งยืนด้านการท่องเที่ยวและบริการในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่จะนำเสนอควรจะมีองค์ความรู้เกี่ยวกับความยั่งยืนในสถานการณ์ปัจจุบันและ อนาคต และให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการอย่างไรกับผู้ที่เป็นนักท่องเที่ยว หรือผู้ได้รับบริการ รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ไปสู่ความยั่งยืนยิ่งขึ้นในอนาคต

12. Modernizing the Aged Blooming in Asia

*Interdisciplinary Networking Discussion Panel, organized by the School of Nursing, WU.

(New wecoming panel to be described after the overall networkings are settled.)

WUICAS II Fifth Announcement

WUICAS II  Call for Papers

 WALAILAK UNIVERSITY INTERNATIONAL CONFERENCE ON ASIAN STUDIES (II)
the inter/cross-disciplinary international conference:
  “Asian Studies Today: The Revival of Asia”  
 เอเชียศึกษาวันนี้: การผงาดขึ้นของเอเชีย

18-19 February 2013
at  Walailak University
222 Thaiburi, Thasala, Thammarat 80160, Southern Thailand
is calling for paper and poster presentations.

Contact:
1. Prof.Dr.Cholthira Satyawadhna, WUICAS II Project Director
Dean, School of Liberal Arts, Walailak University; Chair, Ph.D.Program in Asian Studies
E-Mail:  cholthira@gmail.com
2. Dr.Wannasarn Noonsuk, WUICAS II  Project Secretariat
Secretary, Ph.D.Program in Asian Studies, School of Liberal Arts, Walailak University
E-mail:  wn35@cornell.edu

Dear Colleagues!

Following are the Panel descriptions, 11 Panel Sessions altogether in number.
Please enjoy reading the concept and requirements of each panel.
Your Abstract in both English and Thai with 8-12 keywords are very much appreciated.
Those who can only send your abstract in English, please be speedy,
The dead-line of Abstract submission is January 15, 2013.
There will be service to translate English Abstract into Thai for international scholars upon request.
Full paper in English or Thai, including some other Asian languages, if  any, is welcomed between  January 1-31, 2013

Plenary Sessions
(To be presented either in English, Thai, or any other Asian languages)

 

Panel 1.  The Dialogues of Asian Languages, Literatures, Religions, and Communities
ภาษา วรรณกรรม ศาสนา และชุมชนสัมพันธ์ในเอเชีย
* Panel organized by the Integrated Thai Studies Program, School of Liberal Arts, WU.

The panel aims to review the state of knowledge of Thai Studies with emphasis on the    inter-relationships between Asian languages and cultures, especially in terms of the dialogues of languages, literatures, religions, and communities.  The exchange of information and knowledge in this panel will enhance the understanding of cultural diversities of  Asia and create a new paradigm of social relations that emphasizes the cultural plurality and mutual development both in the region and the globe.  The dialogues  also aim to move ‘ Asian Studies’ to go beyond ‘Geo-Asia’, which is limited by physical space, to the  ‘Asia-ness’, with no boundaries.  It is to prepare new generations of Asianists for a new paradigm to envision Asia in terms of ‘Cosmo-Asia’.

ศึกษาสถานภาพองค์ความรู้ด้านไทยศึกษา โดยมุ่งหาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรมในเอเชีย  โดยเน้นการสังสันทน์ระหว่างวรรณกรรม ศาสนา และชุมชนเอเชีย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ และสานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมเอเชียในมิติใหม่ เชื่อมโยงความแตกต่างหลากหลายของนานาชาติในบริบทสังคมเอเชียใหม่ ในยุคข้อมูลข่าวสารหรือในระบอบการปกครองที่แตกต่าง ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้บนหนทางแห่ง “การพัฒนา” เพื่อประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน   แนวทางการสัมมนากลุ่มนี้ เพื่อรื้อสร้างความเชื่อและความเข้าใจเดิมต่อ “ภูมิภาคเอเชีย” (Geo-Asia) ซึ่งจำกัดขอบเขตในเชิงพื้นที่กายภาพ ไปสู่ “ความเป็นเอเชีย” (Asia-ness) ที่ไม่ยึดติดกับพื้นที่  เป็นการเตรียมความพร้อมและปรับกระบวนทัศน์นักเอเชียศึกษารุ่นใหม่ ให้รู้เท่าทัน “ความเป็นเอเชีย” ในมิติของการเป็น “โลกเอเชีย” ที่ปราศจากพรมแดน

2. Language, Culture, and English Communication in Asia (only in English)

ภาษา วัฒนธรรม และการสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษในเอเชีย

* Panel organized by the English Program, School of Liberal Arts, WU.

Over the past decades, in an international sphere, we cannot deny the role of English language and its status as a global language. English has spread so pervasively that it is fostered into the rest of the complex world as an international prestigious language. Likewise, in Asia, English has played a crucial role in the areas of science and technology, politics, commerce, education, and mass media. Presently, the status of English, the language ‘on which the sun never sets’ has been still maintained, strengthened, and promoted through a system of both private and institutional structures. English has been positioned as a natural and beneficial language. The growth of English has major cultural, educational and political implications. To deal with these aspects of English, language users need to study English and how it works in different kinds of cultural forms and also across cultures.  Also, to better understand about the global rise of English and its role, English played out in any context in this postcolonial era, we need to look at English through its local milieus rather than through a priori assumptions about imperialistic effects. In this way, in order to come at a clearer understanding about English usage and local languages in Asia and especially in Thailand, English should be viewed from local or regional contexts, since it can never be removed from the historical, social, cultural, economic or political contexts in which it is used.

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ในปริมณฑลนานาชาติ เราคงปฏิเสธบทบาทและสถานะของภาษาอังกฤษในฐานะภาษาแห่งประชาคมโลกไม่ได้  ภาษาอังกฤษได้หยั่งรากและขยายพันธุอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นภาษาแห่งโลกที่ทรงอิทธิพล ในเอเชียก็เช่นเดียวกัน ภาษาอังกฤษได้มีบทบาทในด้านต่างๆ อาทิ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเมือง การค้า การศึกษา และสื่อสารมวลชน  ปัจจุบันนี้สถานะภาษาอังกฤษ อันเป็นภาษาที่ตะวันไม่ตกดิน ยังคงได้รับการต่อยอด ส่งเสริมและสนับสนุนในรูปของสถาบันและเอกชน  ภาษาอังกฤษได้รับการสถาปนาให้อยู่ในฐานะที่เป็นกลางและมีประโยชน์  การเติบโตของภาษาอังกฤษส่งผลอย่างมากทางด้านวัฒนธรรม การศึกษาและการเมือง  เพื่อที่จะรู้เท่าทันและเข้าใจผลของภาษาอังกฤษในด้านต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้ใช้ภาษาพึงจะต้องเรียนและใช้ภาษาอังกฤษโดยตระหนักถึงบทบาทของภาษาในบริบทพหุภาษาและวัฒนธรรมต่างๆ   นอกจากนี้การที่จะทำความเข้าใจบทบาทของภาษาอังกฤษที่เพิ่มมากขึ้นในบริบทต่าง ๆ ในห้วงเวลาหลังอาณานิคมนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องพิจารณาภาษาอังกฤษจากมุมมองของท้องถิ่นมากกว่าข้อสมมติฐานที่มีเกี่ยวกับผลของอาณานิคม  ดังนั้นการที่จะเข้าใจภาษาอังกฤษในเอเชียและโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น ภาษาอังกฤษจึงควรถูกฉายภาพจากบริบทท้องถิ่นหรือภูมิภาค ทั้งนี้เพราะว่าภาษาอังกฤษไม่สามารถแยกออกจากบริบทประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองที่ภาษาอังกฤษรับใช้ชุมชนนั้น ๆ อยู่

3. Overseas Chinese Language and Culture in the Context of Globalization  (in Chinese and English)

   ภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนในต่างประเทศภายใต้บริบทโลกาภิวัฒน์

全球化背景下的汉语教学和中国文化推广

*Panel organized by the Chinese Program, School of Liberal Arts, WU.

In the 21st century, all roads lead to China. The world is closely watching the rise of this giant, which has increasing GDP and politico-economic power year by  year.  Therefore, the body of knowledge about China, including its history, language, literature, philosophy, politics, and culture, is required in any countries.  In Thailand, the knowledge about China has been acquired through Western texts, not through the Chinese documents and literatures.  Since the Chinese program of the School of Liberal Arts at Walailak University believes that Chinese studies today needs to focus on the Chinese language and documentary resources and that Asian studies, which is an inter-disciplinary field, has to have a better understanding of China, it organizes this panel on Chinese studies to allow scholars and students to exchange their knowledge using a central Chinese language. However this is not limited to scholars who would like to use Thai or English to tackle with the same issue.

ศตวรรษที่ 21  ถนนทุกสายมุ่งสู่จีน  ทั่วโลกกำลังจับตามองยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียที่กำลังผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจของโลกด้วยมูลค่าผลผลิตมวลรวมประชาชาติที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและผลสัมฤทธิ์เชิงเศรษฐกิจอีกมากมาย   ทำให้องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่ว่าจะเป็น ประวัติศาสตร์ ภาษา ปรัชญา การเมือง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ วรรณกรรมล้วนควรค่าแก่การศึกษา  ซึ่งมุมมองของการศึกษาวิจัยส่วนใหญ่ในวงวิชาการของไทยเป็นมุมมองที่ผ่านการสังเคราะห์จากเอกสารของตะวันตก  การศึกษาวิจัยองค์ความรู้เกี่ยวกับจีนที่ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์จากเอกสารภาษาจีนโดยตรงหรือมุมมองของผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญภาษาจีนยังมีน้อย  หลักสูตรภาษาจีน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงเห็นว่า เอเชียศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งมีทิศทางไปสู่การใช้ศาสตร์ของสหวิทยาการโดยการบูรณาการระหว่างศาสตร์ต่าง ๆ  ในการศึกษาวิจัย จะขาดการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจีนไม่ได้ จึงได้เปิดเวทีสัมมนาในประเด็นเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับจีนศึกษา โดยเปิดโอกาสให้นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งไทยและจีนที่มีความรู้ความสามารถภาษาจีนได้ร่วมนำเสนองานวิจัยด้วยภาษาจีน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลระหว่างกัน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายทางวิชาการเพื่อความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องในอนาคต  แต่ทั้งนี้ก็มิได้จำกัดวงแต่เฉพาะผู้ประสงค์จะใช้เฉพาะภาษาจีนเพื่อการสื่อสารเท่านั้น

4. Human’s Rights and Women’s Rights: the New Issues of Inequality in Asia

    สิทธิมนุษยชนและสิทธิสตรี : ประเด็นใหม่ของกลุ่มคนที่ไม่ได้รับความเท่าเทียมในเอเชีย

* Panel organized by the Ph.D.Program in Asian Studies, School of Liberal Arts, WU.

Is it possible to raise human rights and its defense mechanism according to the Universal Declaration of Human Rights in Asia?  In Asian countries, among the diversity of political culture which is lacked of precise cooperation by reasons of either political and economical stability,   human rights violations which occurred in the regions are mostly neglected , and have not been solved sufficiently.

What is then the mutual concept of human rights?  The concept which is under the conditions of the difference and diversity concerning religion, belief, politics, economics, and weak and limited institutional system, for instance, the collaboration due to ASEAN Declaration is still under discussion about its possibility and success.  It has come somewhat to a conclusion that  human  rights and women issues are too difficult to settle and it is too complicated to seek any collective “value” of any ‘rights’ in the region.

Human rights situation in Asia is perceived to be problematic because of the cultural background and Asian value are so distinctive.  With the awareness of differential politics and economics, it is hard to tackle with the universal principles of UN human rights, for example, human trafficking is caused by religious and racial bias, gender inequality broadened to overseas commerce – Asian women have become commodities around the globe, violence of struggle  is for autonomy, community and indigenous rights, including opportunity and equality in attainment of natural resources and equal education, and also  violent protest is the way to preserve identity, dignity, integrity, and culture of minorities as well.  These problems mainly affect women who have their duties to coordinate and recovery.  Women’s mission in Asia  has been extremely challenging, yet seems to be mission impossible.

การสร้างสิทธิมนุษยชนในเอเชียและกลไกการปกป้องสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสิทธิมนุษยชนสากลจะเป็นจริงได้หรือไม่  ท่ามกลางความความหลากหลายของวัฒนธรรมทางการเมืองของนานาประเทศในเอเชีย และการที่แต่ละประเทศยังไม่มุ่งไปสู่การสร้างผลประโยชน์ร่วมกันของประชาคมอย่างชัดเจน ด้วยการอ้างเหตุผลเรื่องความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศตัวเอง หรือเมื่อมีการทักท้วงโต้แย้งจากนานาชาติก็ “วิถีแบบเอเชีย” เป็นคำอธิบาย ที่ทำให้ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในเอเชียถูกละเลยและไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเพียงพอ

อะไรที่จะเป็นแนวคิดสิทธิมนุษยชนที่คนในภูมิภาคนี้สามารถยึดถือร่วมกันภายใต้เงื่อนไขของความแตกต่างและหลากหลายไม่ว่าจะเป็นทางศาสนา ความเชื่อ การเมือง สังคม เศรษฐกิจ  ระบบสถาบันที่จะสร้างกลไกนี้ให้เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ก็ยังคงอ่อนแอและมีข้อจำกัด  ตัวอย่างความร่วมมือที่เกิดขึ้นในระดับอาเซียน จากการประกาศปฏิญญาอาเซียนที่ยังเป็นประเด็นการถกเถียงถึงความเป็นไปได้และความสำเร็จ  ยิ่งทำให้เห็นว่าการสร้าง “ค่านิยม”  ร่วมกันในประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อน และเรื่องว่าด้วย “สิทธิ” ไม่ใช่เรื่องง่ายในภูมิภาคแถบนี้

สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเอเชียในปัจจุบันมีปัญหาที่มีรากฐานจากมิติทางวัฒนธรรมอย่างชัดเจน  ทำให้เกิดค่านิยมและการจัดการปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ไม่สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนสากล ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการค้ามนุษย์ที่เป็นผลมาจากอคติทางศาสนา ชาติพันธุ์  และความไม่เท่าเทียมทางเพศ ที่มีการขยายเส้นทางสู่การค้าข้ามประเทศ   ปัญหาความเกลียดชังและความแตกแยกในสังคม  ความรุนแรงจากการต่อสู้เพื่อการปกครองตนเอง โอกาสและความเท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิในด้านการศึกษา  การรักษาอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยต่างๆ  ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาเหล่านี้ ผู้หญิงเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบหลักและเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการประสานเยียวยา    ภารกิจของผู้หญิงเอเชียเป็นประเด็นที่ท้าทายในภูมิภาคเอเชียยุคปัจจุบัน และดูเสมือนเป็นภารกิจที่ไม่อาจบรรลุได้

5. Reconsidering Asia’s Past and Reconstructing Asian Cultural Landscapes

ทบทวนอดีตและสืบสานภูมิวัฒนธรรมของเอเชีย

* Panel organized by the Ph.D.Program in Asian Studies (Asian Art History and Archaeology), School of Liberal Arts, WU.

Asia has had deep cultural roots.  Cultures and civilizations in this continent  have interacted with one another and had far-reaching influences to various cultures around the ancient world.  Therefore, the studies of Asia’s past have to extend far beyond the borders of Asia or any particular regions.  It is the trend toward the studies of ancient globalization based on the fine-grained research of each local site.  The cultural wealth of the past has shaped the cultural landscapes in this continent since culture and landscape are intimately related and helped to shape one another.

This session aims to provide an opportunity for scholars, graduate students, and people who are interested in the studies of the past and cultural landscapes to exchange their discoveries, ideas, and methodologies to one another toward applications of inter-disciplinary approaches.  The fields of study in this session include, but are not limited to, archeology, history, history of art, geography, and anthropology.

ทวีปเอเชียอุดมเฟื่องฟูไปด้วยวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆ มากมายมาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล  วัฒนธรรมเหล่านี้ได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและยังส่งผลกระทบไปสู่วัฒนธรรมอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไปจากทวีปแห่งนี้  ดังนั้นการศึกษาวัฒนธรรมโบราณของเอเชียจึงมีแนวโน้มที่จะต้องมุ่งเน้นในสองด้านเป็นอย่างน้อย คือ ประการที่หนึ่ง ต้องมุ่งศึกษาวิจัยเชิงลึกในแต่ละพื้นที่ในแต่ละวัฒนธรรม และประการที่สอง ต้องขยายขอบเขตการศึกษาให้กว้างไกลกว่าทวีปเอเชียเพื่อศึกษาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมเหล่านั้นกับดินแดนอื่นๆ  เส้นทางการค้าการแลกเปลี่ยนต่างๆ อาทิเช่น เส้นทางสายไหมทางบกและเส้นทางสายเครื่องเทศทางทะเล ได้เชื่อมโยงเอเชียเข้าไว้กับโลกโบราณและนำไปสู่การเป็นโลกาภิวัตน์ของยุคโบราณ  การเปิดออกสู่โลกภายนอกของสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ในเอเชียได้ทำให้ภูมิวัฒนธรรมของสังคมเหล่านั้นพัฒนาขึ้นอย่างสลับซับซ้อน  ซึ่งการหาความหมายของภูมิวัฒนธรรมเหล่านั้นต้องอาศัยการศึกษาอดีตอย่างแนบแน่น

การสัมมนากลุ่มย่อยนี้มีเป้าประสงค์ที่จะเปิดเวทีให้นักวิชาการ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และผู้คนที่สนใจอดีต ได้เข้ามาเสนอผลงานของตนและแลกเปลี่ยนความรู้และวิธีวิทยาในการค้นหาอดีตและพัฒนาการของภูมิวัฒนธรรมในเชิงบูรณาการ  สาขาวิชาต่างๆ ในการสัมมนานี้ประกอบด้วย โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

6. Power and Politics in Asia

   การเมืองและอำนาจในเอเชีย

*Panel organized by the Political Sciences Program, School of Liberal Arts, WU.

In a global view, various Asian states have had increasing power in the world in the past few decades.  For instance, China has become the politico-economic and military giant in the world, and this fact has worried the West, especially the U.S., tremendously.  President Obama has declared recently that the U.S. will come back to the Far East and that the South China Sea virtually belongs to everyone, to prevent the growing power of China in this resourceful region.  To this end, the U.S. decided to set up a large military base in Australia and sent countless envoys to Southeast Asia to create strong political ties between the U.S. and Southeast Asian countries and to protect the interest of the U.S. in this region.  It has sometime been said that, if World War III is to happen, it would be happening in the South China Sea.  This prediction simply reaffirms the fact that Southeast Asia is now one of the most, if not the most, politically active regions in the world.

In a local view, power and politics in Asia are diversified and complex, in terms of their meanings, forms, and uses.  Power in Asia has fluidity that can change from one form to another according to societies and cultures.  State power is not absolute but is shared by social power.  The interactions between each kind of power, therefore, became an important topic for the studies of politics in Asia.

ในภาพมุมกว้าง รัฐต่างๆ ในเอเชียได้มีอำนาจมากขึ้นเป็นอย่างมากในหลายทศวรรษที่ผ่านมา  อาทิเช่น จีนได้แข็งแกร่งเป็นอย่างมากทางการเมือง ทางเศรษฐกิจและทางการทหาร  การผงาดขึ้นของจีนส่งผลให้มหาอำนาจอื่นๆ ของโลก เช่นสหรัฐอเมริกา และยุโรปต้องปรับตัวและริเริ่มนโยบายใหม่ๆ ในการต่อรองเชิงอำนาจกับจีน  ประธานาธิบดีโอบามาของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศอย่างชัดเจนเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาว่าสหรัฐจะทุ่มเทสรรพกำลังมาสู่ทะเลจีนใต้อีกครั้งหลังจากการพ่ายแพ้สงครามในเวียดนาม  ขณะนี้ฐานทัพสหรัฐได้ถูกก่อตั้งขึ้นในประเทศออสเตรเลีย และผู้บริหารระดับสูงของสหรัฐก็ได้แวะเวียนเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไม่ขาดสายเพื่อแสวงหาพันธมิตรในการปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐในภูมิภาคแห่งนี้  จนถึงขั้นที่นักวิชาการบางท่านได้คาดคะเนว่า หากสงครามโลกครั้งที่สามจะเกิดขึ้น ก็คงจะเกิดที่ทะเลจีนใต้เป็นแน่แท้  จึงอาจกล่าวได้ว่าภูมิภาคนี้จึงมีพลวัตทางการเมืองระหว่างประเทศสูงที่สุดในโลกในปัจจุบัน

ในภาพมุมลึกระดับท้องถิ่น  อำนาจและการเมืองในเอเชียนั้นมีความหลากหลายและซับซ้อน ทั้งในความหมาย รูปแบบและการใช้   ในสังคมการเมืองของเอเชียนั้นพบลักษณะพิเศษของ “อำนาจ”  ผกผันไปตามรูปแบบสังคมเช่นเดียวกับ “อำนาจรัฐ” ไม่ได้มีความเบ็ดเสร็จเด็ดขาด  แต่ยังมีความเป็น “อำนาจอื่นจากอำนาจรัฐ”  เป็นต้นว่า “อำนาจทางสังคม”  ที่นับว่ามีพลังไม่แตกต่างกัน  อำนาจทางสังคมจึงเป็นระบบคุณค่าที่สอดแทรกหรือแฝงตัวและมีบทบาทในสังคมการเมือง เช่นนี้ ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันหรือเกิดการปะทะระหว่างกันในปริมณฑลแห่งอำนาจของเอเชีย ทำให้ความหมาย รูปแบบ และการใช้อำนาจมีความเป็นพิเศษอยู่อย่างน่าสนใจ

 7. The Contemporary Malay Literature in ASEAN (in Bahasa and English)

     วรรณกรรมมลายูร่วมสมัยในอาเซียน

*Panel organized by the ASEAN Studies and the M.A.in Southeast Asian Studies Program,
School of Liberal Arts, WU.

As the lingua franca of maritime Southeast Asia, Malay is now spoken and used by more than 215 million people.  The Malay language and literature have also reflected the knowledge and wisdom of people in this region for a long time.  They have been at the center of intellectual discussion and influenced the historical developments of various communities.  Even today, the development of the contemporary Malay literature is still intriguing and colorful.  The principle issues to be investigated in this panel are how the Malay literature reflects the contemporary experiences of the people under different socio-political and cultural circumstances and toward what direction that the Malay literature is moving.

ในฐานะภาษากลาง (lingua franca) ของโลกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ภาษามลายูมีผู้ใช้มากกว่า 215 ล้านคน  ทั้งภาษามลายูและวรรณกรรมมลายูเป็นแหล่งเก็บความรู้ ภูมิปัญญา เป็นศูนย์กลางของการวิวาทะ และมีบทบาทในพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของหลายดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วรรณกรรมมลายูยังคงมีพัฒนาการที่เปี่ยมไปด้วยสีสันจนถึงทุกวันนี้  คำถามสำคัญนั้นอยู่ที่ว่า ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงร่วมสมัยซึ่งแต่ละประเทศที่ใช้ภาษามลายูกำลังเผชิญสถานการณ์ทางการเมือง สังคม วัฒนธรรมแตกต่างกันออกไปนี้ วงการวรรณกรรมมลายูกำลังเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด และได้ทำหน้าที่สะท้อนให้เห็นประสบการณ์ร่วมสมัยเหล่านั้นเช่นไรในปัจจุบัน

 8. The Tai/Thai/Siamese and Austroasiatic-Austronesian Connections (in any Tai/Dai/Thai/Siamese  dialects)

    ชาวไท/ไทย/สยาม กับ ความสัมพันธ์ที่เกาะเกี่ยวระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมมอญ-เขมรและกลุ่มวัฒนธรรม    มลายู-โพลีเนเชียน

* International Panel networking and organized by SEACOM, Berlin/TAI CULTURE, International Review on Tai Social and Cultural History

For several decades, the questions of origin and migration routes have always been fascinating for sojourners who were ‘fore-runners’ in Tai/Thai Studies.  However in the past two decades, although some may still cast doubt, skeptical, and reluctant to jump to any conclusion, various in-depth documentary and field research have opened up a new horizon to the study of the Tai/Thai/Siamese in terms of their Austro-asiatic and Austronesian connections.  The conventional tradition of Thai Studies, in other terms, the ‘colonized Thai Studies’  has been unmasked, diversified, and deconstructed, further replaced by the new understanding and conceptualization of the ‘pluralities’ which amazingly occurred more than two thousand years ago in China, India, upper mainland Southeast Asia, the Thai-Yunnan Periphery in particular, and southwards to the Pacific Islands.

The traditional studies of the Thai ‘origin’, ‘prime-ordeal’, and Thai unique characteristics have been questioned and criticized, resulted in the reshaping of novel theorizing and approaches.  Identity formation, ethnography, and reconstruction of ethnohistory among various cultural groups of either austro-asiatic or austronesian, or both, in anthropological perspective have become the alternative trends of research for those who could penetrate into the secret and sacredness of the ‘ASIA-NESS’ and would like to draw the connections in-between cultural space among the Tai/Thai/Siamese.

หลายทศวรรษที่ผ่านมา คำถามว่าด้วยต้นกำเนิดและเส้นทางอพยพเป็นที่สนใจสำหรับนักแสวงหาความรู้ผู้บุก เบิกวงการไท/ไทยศึกษา  อย่างไรก็ตาม ราวยี่สิบปีที่ผ่านมา แม้ว่าหลายคนยังคงข้องใจ สงสัย และไม่อยากด่วนสรุป  การวิจัยเอกสารและการวิจัยสนามจำนวนมากได้เบิกฟ้าใหม่ให้กับการศึกษาเรื่องชาวไท/ไทย/สยามในแง่ของความสัมพันธ์ที่เกาะเกี่ยวกับกลุ่มวัฒนธรรมมอญ-เขมรและกลุ่มวัฒนธรรมมลายู-โพลีเนเชียน  ไทยศึกษาแนวจารีต หรือนัยหนึ่งไทยศึกษาภายใต้ลัทธิล่าอาณานิคม ได้ถูกเผยโฉมหน้า และทำให้หลากหลายขึ้น กระทั่งถูกปรับ-รื้อ-ถอนเชิงโครงสร้างความคิด  แล้วแทนที่ด้วยความเข้าใจใหม่และมโนทัศน์ใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับ “ความหลากหลาย” ซึ่งได้เกิดขึ้นมาแล้วกว่าสองพันปีอย่างน่าพิศวงในจีน อินเดีย ภาคพื้นอุษาคเนย์ตอนบน โดยเฉพาะปริมณฑลไทย-ยูนนาน และใต้ลงมาถึงหมู่เกาะแปซิฟิก

ไทยศึกษาแนวจารีตนิยมที่เน้นการค้นหาแหล่งกำเนิด จุดแรกเริ่ม และเอกลักษณ์ไทย  ได้ถูกตั้งข้อกังขาและวิพากษ์วิจารณ์  นำมาซึ่งการก่อรูปฐานคิดทางทฤษฎีและวิธีวิทยาแบบใหม่ๆ   โดยเฉพาะการศึกษาวิจัยด้วยวิธีวิทยาทางมานุษยวิทยา เช่น การสร้างอัตลักษณ์ ชาติพันธุ์วรรณนา และการสืบสานประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ ของนานาชาติพันธุ์  ไม่ว่าจะสัมพันธ์เกาะเกี่ยวกับกลุ่มวัฒนธรรมมอญ-เขมร หรือ กลุ่มวัฒนธรรมมลายู-โพลีเนเชียน  หรือกับทั้งสองกลุ่ม  การศึกษาแนวนี้ได้กลายเป็นกระแสการวิจัยทางเลือก สำหรับผู้สามารถเข้าถึงความลึกลับและขุมความขลังของ “ความเป็นเอเชีย”  และประสงค์จะสาวความสัมพันธ์ “ในระหว่างพื้นที่วัฒนธรรม” ของชาวไท ชาวไทย และชาวสยาม

9. Sustainable Future for Asia

    ความยั่งยืนในอนาคตสำหรับภูมิภาคเอเชีย

* Panel organized by the Ph.D.Program in Asian Studies (Public Policy), School of Liberal Arts, WU.

The skyrocketing increase of population and industrial production in Asia has inevitably caused the unstoppable exploitation of natural resources to the point that the ecological balance cannot be sustained.  The pollution of the industrial productions has also affected the earth, on a global scale, and threatened the survival of all of its habitants.  The economic collapses in Asia, the U.S. and recently Europe has proved that the mentality that sets the economic growth and accumulation of material wealth as the supreme goals for human society is problematic.  It has destroyed the old way of life and thinking that concerned with how human can live as a part of nature, not its conqueror.  In old Siam, for example, villagers believed that the true owner of all the natural resources, such as rivers, forests, lakes, and wild animals, were the supernatural power or spirits (phii).  In this way, people could not over-exploit such resources because the protective spirits would punish them.

Sufficiency is the key to the sustainability for human society on earth.  His Majesty King Bhumibol has pioneered  to propose the concept of ‘sufficiency economy’ to help remedy the over-exploitation of natural resources and the greed in today people’s mind.  To pursue the idea of sustainability, this panel aims to utilize the inter-disciplinary approaches, such as those of ethnography, ecology, environments, agriculture, and economics, to find the answers for the sustainable future for Asia.

จำนวนประชากรและการผลิตด้านอุตสาหกรรมที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในเอเชียได้นำไปสู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มากเกินความพอดีจนถึงจุดที่สมดุลทางนิเวศวิทยาไม่สามารถจะคงอยู่ได้  และสิ่งเหล่านี้ยังนำไปสู่การสร้างมลภาวะและเป็นผลร้ายต่อการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกใบนี้  การล่มสลายทางเศรษฐกิจในเอเชีย สหรัฐอเมริกา และยุโรป ทำให้เห็นได้ว่า การเอาความเติบโตทางเศรษฐกิจและการสะสมความร่ำรวยอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสังคมมนุษย์  แนวคิดที่เอาความมั่งคั่งนำหน้าได้ทำลายวิธีคิดและวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมที่มุ่งหมายให้คนอยู่ในธรรมชาติได้อย่าปกติสุขอย่างผู้อาศัยมิใช่ผู้ครอบครอง  ในสังคมดั้งเดิมของสยาม คนเชื่อว่าผู้เป็นเจ้าของทรัพยากร ที่ประกอบด้วยแม่น้ำลำคลอง ป่าไม้ และ สัตว์ป่า คืออำนาจเหนือธรรมชาติหรือผีที่จะลงโทษผู้ใดก็ตามที่ใช้ประโยชน์ทรัพยากรนั้นอย่างเกินพอดี

ความพอดีคือกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนสำหรับมนุษย์บนโลกใบนี้  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มเสนอแนวคิดเรื่อง ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ เพื่อแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรเกินพอดีและความโลภของผู้คนของสังคมในปัจจุบัน  เพื่อนำแนวการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้ประโยชน์  การสัมมนาครั้งนี้จะใช้แนวทางสหวิทยาการ ที่รวมเอาศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น ชาติพันธุ์วรรณา นิเวศวิทยา เกษตรศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ มาเป็นเครื่องมือในการหาทางออกของปัญหาเพื่อนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนของเอเชีย

10. Medical and Health Sciences in Asia (only in English)

     สุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ในเอเชีย

*Cross-disciplinary networking Panel,  organized by the Ph.D.Program in Biomedical Sciences, School of Allied Health and Public Health, WU.

As the fastest growing region, in terms of industrial development and population, in the world today, Asia is experiencing problems in health and welfare of its people, especially those who do not have economic privileges.  A number of epidemics, spreading both to and from Asia, have also affected people’s lives in this region.  Encountering with these problems, this panel on Medical and Health Sciences in Asia will assemble a group of doctors, clinicians, allied-health professionals, academicians, researchers and graduate students to find the way to enhance the quality of life through various inter-disciplinary approaches including, but not limited to, health intervention, health systems and policy research, improvement of clinical practice, biomedical sciences research new approach, environment and occupational health, nutrition and food safety, and other related health and medical sciences.  Participants will have the opportunity to explore the possibilities of collaboration research, clinical education, as well as a chance to contribute back to the community.

The Organizing Committee invites participants to submit abstracts of original, unpublished work for oral and/or poster presentations.  Abstracts must not be more than 300 words. Proceedings for research outcome mustinclude 6 main headings including,abstract, introduction, methodology, result, discussion and conclusions, and references.  Submission abstract must include author(s) name(s), institution(s), and the presenting author’s name should be underlined and make a presentation at the conference.  Submitted abstracts will be reviewed by the Scientific Committee and its decision is final.

จากการที่เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางอุตสาหกรรมและประชากรสูงที่สุดในโลกในปัจจุบัน ปัญหาทางด้านสุขภาพจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ของผู้คนในภูมิภาคนี้  โรคระบาดต่างๆ ที่แพร่กระจายจากเอเชียและที่แพร่กระจายมาสู่เอเชียก็ยังส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในภูมิภาคนี้เป็นอันมาก  การสัมมนาผลงานวิจัยสร้างสรรค์ด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพในการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ “เอเชียนศึกษาวันนี้” จึงมีเป้าหมายที่จะหาหนทางในการร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้านสุขภาพ  ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วยแพทย์ สหวิชาชีพทางการแพทย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาโดยสามารถนำเสนอผลงานการศึกษาวิจัยในด้านต่างๆ ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพการวิจัยระบบและนโยบายสาธารณสุข การพัฒนาทักษะความเป็นเลิศทางคลินิกการวิจัยทางชีวเวชศาสตร์ อาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม โภชนาการและอาหารปลอดภัย และผลงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อนำไปสู่การดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน

ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถนำเสนอผลงานในรูปแบบภาคบรรยาย หรือ ภาคโปสเตอร์ โดยขอให้ผู้นำเสนอผลงานจัดเตรียมในรูปแบบบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 คำ หรือเตรียมผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ (Proceedings) ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อคณะผู้วิจัย (ให้ขีดเส้นใต้ชื่อผู้นำเสนอผลงาน) สถาบันของผู้วิจัย บทคัดย่อ บทนำ ผลการศึกษา สรุปและอภิปรายผล และเอกสารอ้างอิง
ผลงานวิชาการ หรืองานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ ที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอ จะต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
และมีการปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว

11. Sustainable Tourism and Hospitality Management in Asian Community

      ความยั่งยืนด้านการท่องเที่ยวและบริการในกลุ่มประเทศอาเซียน

*Interdisciplinary Networking Panel, organized by the Ph.D. Program in Business Administration, School of Management, WU.

This panel explores the current circumstances and directions of tourism and hospitality industries in the ASEAN community from the management perspective.  The studies in this research area involve multi-disciplinary approaches, which are related to other fields, such as social, environmental, and politico-economic sciences. The papers to be presented in this panel should be associated with the concept of sustainability and how to manage visitors and stakeholders in tourism and hospitality business toward the direction of sustainable future.

ความยั่งยืนด้านการท่องเที่ยวและบริการในกลุ่มประเทศอาเซียน  ศึกษาการจัดการเรื่องของการท่องเที่ยว สันทนาการ และการบริการ เฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน   การศึกษาประกอบด้วยองค์ความรู้ ทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ หรือด้านใดด้านหนึ่งในสามองค์ประกอบ   บทความว่าด้วยความยั่งยืนด้านการท่องเที่ยวและบริการในกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะนำเสนอควรจะมีองค์ความรู้เกี่ยวกับความยั่งยืนในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต และให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการอย่างไรกับผู้ที่เป็นนักท่องเที่ยว หรือผู้ได้รับบริการ รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเพื่อบรรลุเป้าหมายไปสู่ความยั่งยืนยิ่งขึ้นในอนาคต

WUICAS II Fourth Announcement

Dear Colleagues,
Merry Christmas and Happy New Year!

We are happy to inform you the most current situation of our WUICAS II,
as of Dec.24, 2012:

Keynotes for the morning session on February 18, 2013
“Asian Studies Today: The Revival of Asia”
Dr.Chris Baker & Prof.Dr.Pasuk Pongpaichit

Keynote for the morning session on February 19, 2013
“เอเชียบูรพาภิวัตน์” (The Asian-ization)
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (Prof.Dr.Anek Laothammathat)

Apart from Walailak University’s budget for Reseach and International Profile,
the program administration of WUICAS II is partly supported by
*The Association of Recipients of Anandamahidol Scholarship Foundation
The distinguished ASF Recipients who genorously accept our invitation to be
WUICAS II Plenary Speakers are as followed:

1. ดร. มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์
“ความแพร่หลายของมหากาพย์รามายณะในเอเชีย”

2. ดร. วีรไท สันติประภพ
“ ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของเอเชีย”

3. ดร. จาตุรี ติงศภัทิย์

“การอ่านวรรณกรรมภาษาอังกฤษในเอเชีย”

4. ดร. ดรรชนี เอมพันธุ์

“การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเอเชีย”

5. ดร. ชาญวิทย์ ทัดแก้ว
“พุทธศาสนาลังกาวงศ์กับการเผยแผ่ในดินแดนเอเชียอาคเนย์”

6. ดร. พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์

“การกำหนดสมัยของการแพร่ของภาษาตระกูลไทเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

7. ดร. อรุณวรรณ หลำอุบล

“นวัตกรรมทางทันตกรรมจากวิสัยทัศน์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อสุขภาพที่ดีกว่าสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย”   (ส่วนที่หนึ่ง)

8. ดร.ดุลยพร ตราชูธรรม
“นวัตกรรมทางทันตกรรมจากวิสัยทัศน์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อสุขภาพที่ดีกว่าสำหรับ
ผู้สูงอายุในประเทศไทย” (ส่วนที่สอง)

WUICAS II PROCEEDINGS is supported by
*Research and Development Institute, Walailak University

As of December 24, 2012
Apart form Thai Early Birds, mostly graduate students, there are also
some more International Early Birds’ applications with English Abstract from
London, Vietnam, Malaysia, Assam, and international universities in Thailand.
We look forward to receiving  your new-coming application very soon.

Supporting grants for international early birds, and/or
other supports either in cash or in kind,
including sponsoring for Asian Cultural Shows
are very much appreciated.

WUICAS II – next Announcement will provide the description of all Panels.
Those who already sent us your abstracts please specify your designated Panel,
or WUICAS II Reviewers will set for you if you do not let us know in due time.
*Please do follow our Announcement weekly.

Prof.Dr.Cholthira Satyawadhna
 (Chair Director, WUICAS II)

Dr.Wannasarn Noonsuk (Secretariat, WUICAS II)

Aside

WUICAS II
Second Announcement

Keynotes for the morning session on February 18, 2013
“Asian Studies Today: The Revival of Asia”
Dr.Chris Baker & Prof.Dr.Pasuk Pongpaichit

Keynote for the morning session on February 19, 2013
“เอเชียบูรพาภิวัตน์” (The Asian-ization)
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (Prof.Dr.Anek Laothammathat)

WUICAS II PROCEEDINGS
is supported by Research and Development Institute, Walailak University.

Dec.2, 2012
There are now Early Birds’ application with Abstract for 4 Sessions.
Other Sessions to be followed and  confirmed.
We look forward to receiving  your application.
Supporting grants for international early birds, and/or
other supports either in cash or in kind,
including sponsoring for Asian Cultural Shows
are very much appreciated.

Prof.Dr.Cholthira Satyawadhna (Chair Director, WUICAS II)
Dr.Wannasarn Noonsuk (Secretariat, WUICAS II)

WUICAS II

THE PHD PROGRAM IN ASIAN STUDIES, SCHOOL OF LIBERAL ARTS
WALAILAK UNIVERSITY, NAKHON SI THAMMARAT, SOUTHERN THAILAND
IS CALLING FOR PAPERS AND POSTERS FOR

WALAILAK UNIVERSITY INTERNATIONAL CONFERENCE ON ASIAN STUDIES II

The Ph.D. Program in Asian Studies, School of Libeal Arts, WU. together with all other SLA programs involved, in collaborations with
The PhD in Biomedical Sciences, School of Allied Health and Public Health, and
The Ph.D.Program in Business Administration, School of Management, WU.
proudly announce our operation for WUICAS II,
the inter/cross-disciplinary international conference:
  “Asian Studies Today: The Revival of Asia”  (WUICAS II)
                       “เอเชียศึกษาวันนี้: การผงาดขึ้นของเอเชีย”
18-19 February 2013
at Walailak University, 222 Thaiburi, Thasala,
NakhonSi Thammarat 80160, Southern Thailand
* co-granted by Research and Development Institute, Walaliak University

Contact: 1. Prof.Dr.Cholthira Satyawadhna
Dean, School of Liberal Arts, Walailak University;
Chair, Ph.D.Program in Asian Studies
E-Mail:   cholthira@wu.ac.th; cholthira@gmail.com
2. Dr.Wannasarn Noonsuk
Secretariat, Ph.D.Program in Asian Studies
                    E-mail:  wn35@cornell.edu

Submission Date:

For Early Birds – December 1-15, 2012 
Abstract in English and Thai
* Junior researchers and Graduate students are strongly reccommended

For Professionals  – December 16-31, 2012
** Senior researchers, Specialists
*** Honorary and Invited Keynotes, including Plenary Sessions’ Lecturers
Abstract  in English and Thai, including some other Asian languages, if any.

Full paper in English or Thai,  including some other Asian languages, if  any.     
January 1-31, 2013

Plenary Sessions
(To be presented either in English, Thai, or any other Asian languages, if any)
1. The Dialogues of Asian Languages, Literatures, Religions, and Communities
Panel organized by the Integrated Thai Studies Program, School of Liberal Arts, WU.
2. Language, Culture, and English Communication in Asia (only in English)
Panel organized by the English Program, School of Liberal Arts, WU.
3. Overseas Chinese Language and Culture in the Context of Globalization
(in Chinese and English)
Panel organized by the Chinese Program, School of Liberal Arts, WU.
4. Human Rights and Women Studies in Asia
Panel organized by the Ph.D.Program in Asian Studies
(Women Studies and Anthropology), School of Liberal Arts, WU.
5. Reconsidering Asia’s Past and Reconstructing Asian Cultural Landscapes
Panel organized by the Ph.D.Program in Asian Studies
(Asian Art History and Archaeology), School of Liberal Arts, WU.
6. Popular Culture in Asia
7. Power and Politics in Asia
Panel organized by the Political Sciences Program, School of Liberal Arts, WU.
8. The Malay Literature in ASEAN (in Bahasa and English)
Panel organized by the ASEAN Studies and the M.A.in Southeast Asian Studies
Program, School of Liberal Arts, WU.
9. The Tai/Thai/Siamese and Austroasiatic-Austronesian Connections
(in any Tai/Dai/Thai/Siamese dialects)
Panel international networking-organized by SEACOM, Berlin/
TAI CULTURE, International Review on Tai Social and Cultural History
10. Sustainable Future for Asia
Panel organized by the Ph.D.Program in Asian Studies (Public Policy),
School of Liberal Arts, WU.
11. Medical and Health Sciencesin Asia (only in English)
Networking-organized by the Ph.D.Program in Biomedical Sciences,
School of Allied Health and Public Health, Walailak University
12. Sustainable Tourism and Hospitality Management in Asian Community
Networking-rganized by the Ph.D. Program in Business Administration,
Walailak Management School

WALAILAK UNIVERSITY INTERNATIONAL CONFERENCE ON ASIAN STUDIES II (WUICAS II)

THE PHD PROGRAM IN ASIAN STUDIES, SCHOOL OF LIBERAL ARTS
WALAILAK UNIVERSITY, NAKHON SI THAMMARAT, SOUTHERN THAILAND
IS CALLING FOR PAPERS AND POSTERS FOR
WALAILAK UNIVERSITY INTERNATIONAL CONFERENCE ON ASIAN STUDIES II
Asian Studies Today: The Revival of Asia (WUICAS II)

18-19 February 2013
Walailak University, 222 Thaiburi, Thasala, NakhonSi Thammarat 80160, Southern Thailand
Contact: Prof.Dr.Cholthira Satyawadhna, Dean, School of Liberal Arts, Walailak University
E-Mail:   cholthira@wu.ac.th; cholthira@gmail.com
Submission: Early Birds – December 1-15, 2012
Abstract (in English/Thai and Asian languages) – December 16-31, 2012
Full paper (in English/Thai/Asian languages) – January 1-31, 2013